ในบทความที่ผ่านมามีการอธิบายใน 6 วิชา คือ “ภาษาไทย สังคม อังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ”จาก 9 วิชาสามัญ บทความนี้จะสรุปในส่วนของ 3 วิชาสุดท้าย คือ “คณิต1 (สายวิทย์) , คณิต2 (สายศิลป์) , วิทย์ทั่วไป (สายศิลป์) ซึ่งทาง ติวเตอร์จุฬา (Chula Gradeup Tutor) ได้รวบรวมไว้ ไปลุยกันต่อได้เลย …
9 วิชาสามัญ ออกอะไรบ้าง (สายวิทย์ – สายศิลป์)
วิชาคณิตศาสตร์ : 20%
สำหรับวิชาคณิตศาสตร์อาจจะมีความยากไม่เท่ากับการสอบ PAT1 แต่ก็มีข้อควรระวังในการทำก็คือ อย่าคิดง่ายเกินไป เพราะมันอาจจะมีกับดักซ่อนอยู่ในโจทย์แต่ละข้อด้วย ดังนั้นน้องๆ ควรจะอ่านโจทย์อย่างละเอียดว่าเขาต้องการอะไร และคิดคำนวณให้ดีๆ พยายามอย่าคิดเลขผิดและกลับมาทวนอีกครั้งก่อนส่งข้อสอบด้วยนะ (ถ้าน้องๆ คนไหนเป็นคนที่คิดเลขช้า ก็ควรที่จะฝึกในการคิดเลขให้เร็วยิ่งขึ้น ไม่งั้นเวลาเจอข้อสอบจริงจะทำไม่ทันนะ) โดยในวิชาคณิตศาสตร์ได้มีการแบ่งวิชาการสอบออกเป็น คณิตศาสตร์ 1 (สำหรับนักเรียนสายวิทย์-คณิต) และ คณิตศาสตร์ 2 (สำหรับนักเรียนสายศิลป์)
คณิตศาสตร์ 1 (นักเรียนสายวิทย์-คณิต)
1. ความรู้พื้นฐาน
- เซตและการดำเนินการของเซตตรรกศาสตร์เบื้องต้นความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น
2. ระบบจำนวนจริง
- จำนวนเต็ม (ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น) การหารและขั้นตอนการหาร ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
- จำนวนจริงการแก้สมการและอสมการของพหุนามตัวแปรเดียวและในรูปค่าสมบูรณ์
- จำนวนเชิงซ้อนการดำเนินการของจำนวนเชิงซ้อนจำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้วและการหารากที่ n การแก้สมการพหุนามที่มีรากเป็น
- จำนวนเชิงซ้อน
3. เรขาคณิต
- เรขาคณิตวิเคราะห์เส้นตรง วงกลม วงรี พาราโบลา และไฮเปอร์โบลา
- เวกเตอร์เวกเตอร์ใน 2 และ 3 มิติ การบวกลบ การคุณเชิงสเกลาร์และการคูณเชิงเวกเตอร์
- ตรีโกณมิติและฟังก์ชันผกผันสมการตรีโกณมิติ กฏของโคไซน์และไซน์
4. พีชคณิต
- เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ (การแก้ระบบสมการ)
- ฟังก์ชันเอกโพเนนเชียล เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
- ฟังก์ชันลอการิทึม
5. ความน่าจะเป็นและสถิติ
- ความน่าจะเป็นวิธีการเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ทฤษฎีบทวินาม ความน่าจะเป็นและกฏพื้นฐานที่สำคัญ
- การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ค่ากลางของข้อมูล การวัดตำแหน่งและการวัดการจายข้อมูล
- การแจกแจงปกติ ค่ามาตรฐานการแจกแจงปกติและเส้นโค้ง
6. แคลคูลัส
- ลำดับและอนุกรม
- ลิมิตและความต่อเนื่อง
- อนุพันธ์และสมบัติของอนุพันธ์ ความชันอนุพันธ์ของฟังก์ชันประกอบการประยุกต์
- ปริพันธ์ไม่จำกัด การหาพื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง
7. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- เชื่องโยงความรู้ต่างๆ ในสาระที่ 1-6 เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ข้อสอบ : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
คณิตศาสตร์ 2 (นักเรียนสายศิลป์ฯ)
1. จำนวนจริงและการดำเนินการ
- จำนวนจริง
- ค่าสมบูรณ์ของจำนวนจริง
- รากที่ n ของจำนวนจริงและเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
- การประมาณค่า
2. การวัดอัตราส่วนตรีโกณมิติและการนำไปใช้
3. พีชคณิต
- เซตและการดำเนินการของเซต
- การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย
- ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
- กราฟความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น
- สมการและอสมการตัวแปรเดียวของพหุนามดีกรีไม่เกินสอง
- การนำกราฟไปใช้ในการแก้สมการและอสมการ
- ลำดับและการหาพจน์ทั่วไปของลำดับ
- ลำดับและอนุกรมเลขคณิตและเรขาคณิต
4. ความน่าจะเป็นและสถิติ
- การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
- ค่ากลางของข้อมูล
- การวัดการกระจายของข้อมูล
- การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล
- กฏเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ
- ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ข้อสอบ : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วิทยาศาสตร์ : 40%
สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์มีเนื้อหาที่ออกสอบค่อนข้างเยอะ แถมยังจะต้องจำสูตรในการคำนวณหรือแก้ไขโจทย์อีกด้วย ดังนั้นน้องๆ ควรที่จะเลือกเน้นอ่านเนื้อหาที่ออกสอบและทำความเข้าใจเกี่ยวเนื้อหาส่วนนั้นให้ดี อย่าจำ! เพียงอย่างเดียว แต่เราจะต้องเข้าใจด้วย และก็ต้องลองหาข้อสอบเก่าๆ มาทำด้วย เพราะมันจะช่วยทำให้เรามองเห็นแนวข้อสอบที่จะออกได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ได้ถูกแบ่งออกเป็นวิทยาศาสตร์ทั่วไป (สำหรับนักเรียนสายศิลป์) และวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา (สำหรับนักเรียนสายวิทย์-คณิตฯ)
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
- พันธุกรรม
- สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
- อยู่ดีมีสุข
- อยู่อย่างปลอดภัย
- ธาตุและสารประกอบ
- ปฏิกิริยาเคมี
- สารชีวโมเลกุล
- ปิโตรเลียม
- พอลิเมอร์
- การเคลื่อนที่
- แรงในธรรมชาติ
- คลื่นกล
- เสียง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- พลังงานนิวเคลียร์
- โครงสร้างโลก
- การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
- แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
- ธรณีประวัติ
- กำเนิดเอกภพ
- ดาวฤกษ์
- ระบบสุริยะ
- เทคโนโลยีอวกาศ
ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 50 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ทั้งหมดรวมทั้ง 2 บทความที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นการรวบรวมหัวข้อที่การสอบ 9 วิชาสามัญนี้มักจะออกข้อสอบ ทางทีม ติวเตอร์จุฬา (Chula Gradeup Tutor) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์กับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ เป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคน อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก
FB Fanpage คลิก : @ChulaGradeup