ทักษะที่ต้องมี เพื่อรองรับยุค BigData

ทักษะที่ต้องมีเพื่อรองรับยุค BigData

ช่วงที่ผ่านมาพวกเราคงได้ยินคำว่า “Thailand 4.0” “Smart City” ฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันโลกของเรานั้นถูกขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี และ BigData โดยในปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยี และ BigData มากยิ่งขึ้น เพราะองค์กรสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ จึงทำให้ในปัจจุบันเกิดเป็นเทรนด์อาชีพใหม่ ๆ ขึ้นมาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ

ทักษะสำคัญที่ต้องรู้ เกี่ยวกับ Bigdata สำหรับน้อง ๆ ที่จบสาขาคอมพิวเตอร์

สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือ ด้านไอทีมาฝากกันด้วย นั่นก็คืออาชีพ Programmer (นักภาษาคอมพิวเตอร์) ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่ออาชีพนี้มาก่อน หรือเคยได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าอาชีพนี้จะต้องทำงานแบบไหน มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย

Datacenter

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คืออะไร?

ก่อนที่เราจะรู้ว่า นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรามารู้จักกับคำว่า ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ กันก่อนดีกว่า…

ซึ่งในเดิมทีแล้ว นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็เป็นอาบชีพในแขนงหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่ในช่วงหลังที่ผ่านมาเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ภาษาด้านคอมพิวเตอร์มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการแยกนักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ออกมาเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังมาแรงในขณะนี้เลย โดยคนที่จะสามารถทำอาชีพนี้ได้นั้นจะต้องมีการฝึกฝนทางด้านภาษาศาสตร์มาโดยเฉพาะ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะถูกแบ่งออกเป็นดังต่อไปนี้

1. ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ (computer aided corpus linguistics)

2. การออกแบบโปรแกรมแจกแจงประโยค (parser) ให้รองรับภาษาธรรมชาติ

3. การออกแบบตัวกำกับ (tagger) เช่น ตัวกำกับชนิดคำ ฯลฯ

4. การนิยามตรรกศาสตร์แบบพิเศษ เช่น ตรรกศาสตร์ทรัพยากร เพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing หรือ NLP) ฯลฯ

5. การวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างภาษาฟอร์มอลกับภาษาธรรมชาติในสภาวะปกติ

ภาษาคอม

นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

สำหรับนักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computational Linguistics) เป็นอาชีพที่ต้องนำทฤษฎีความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์มาประยุกต์รวมกับความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจภาษาของมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่ในการแปล วิเคราะห์ ภาษาต่าง ๆ แทนมนุษย์นั่นเอง เช่น เครื่องแปลภาษาอัตโนมัติ (Machine Translation) หรือ หุ่นยนต์นักสนทนา (Chatbot) ที่สามารถรับคำสั่งจากมนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้ามาทำงานด้านนี้จะต้องมีทักษะสำคัญที่ควรรู้เอาไว้ ดังต่อไปนี้

1. ทักษะทางด้านภาษาศาสตร์

เป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษาและทำหน้าที่ทางด้านภาษาต่าง ๆ แทนมนุษย์ได้ เพราะข้อมูลทางภาษามีความซับซ้อนและพิเศษในตัวของมันเอง จึงต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การแปลภาษาอัตโนมัติ (Machine Translation) ให้ความหมายออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือโปรแกรมในหาการค้นหา (Search Engines) ที่เราจะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้เราสามารถพิมพ์คำถามที่ต้องการลงไปได้เลย ซึ่งระบบสามารถทำความเข้าใจคำถามของเราได้และจะส่งคำตอบกลับให้เราในทันที

Machine Translator

2. การเขียนโปรแกรม

สำหรับทักษะด้านนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเจ้าใจได้ว่ามนุษย์ต้องการอะไร โดยที่เข้าใจได้ว่านี่คือคำถามชนิดไหน และรู้ว่าจะต้องไปหาข้อมูลมาจากที่ไหน หรือสิ่งที่ต้องการเป็นประโยคคำสั่งหรือไม่ โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีในตอนนี้สามารถรับคำสั่งเปิดไฟ ปรับแอร์ เปิดตู้เย็น เองได้

การเขียนโปรแกรม BigData

3. ทักษะทางด้านสถิติ

เป็นงานที่ต้องการอาศัยพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาข้อมูลทางภาษาศาสตรืที่มีจำนวนมาก เช่น สถิติการใช้คำและประโยคเพื่อวิเคราะห์ความเป็นธรรมชาติในการใช้งานและความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ การใช้ความน่าจะเป็นในการแก้ไขคำกำกวม ซึ่งทักษะเชิงคณิตศาสตร์และสถิติจะช่วยทำให้เข้าใจถึงกลไกของภาษาหรือเข้าใจธรรมชาติของภาษาได้ดียิ่งขึ้น

ทักษะทางสถิติ BigData

4. การคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

สำหรับทักษะสุดท้ายนี้จะต้องอาศัยทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลทางภาษา เพื่อนำมาพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางภาษาในลักษณะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การพัฒนาเครื่องแปลภาษาอัตโนมัติ (Machine Translation) อาจจะวิเคราะห์ว่าความหมายที่ต้องแสดงผลออกมานั้นจะเป็นรูปแบบไหน ต้องใช้โมเดลอะไรในการแสดงวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น

การวิเคราะห์ BigData

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน…
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฯลฯ

** นี่เป็นเพียงตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในเมืองไทยเท่านั้น น้อง ๆ สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ สนใจได้เลย และหากมีอะไรอัพเดทเพิ่มเติม ทีม ติวเตอร์จุฬา (Chula Gradeup Tutor) จะอัพเดทให้เรื่อยๆ หรือต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

FB Fanpage คลิกที่นี่ : @ChulaGradeup

อ้างอิงข้อมูลจาก :  www.arts.chula.ac.th

Scroll to top