ในปัจจุบันการสอบวัดระดับความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็น GAT , PAT , BMAT , วิชาสามัญ 9 วิชา TOEIC TOEFL หรือ IELTS ฯลฯ ซึ่งได้มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคะแนนที่ได้ออกมานั้นสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสมัครเรียนต่อ สมัครเข้าทำงาน และสอบเพิ่มฐานเงินเดินให้กับตนเองได้ ดังนั้น ทีม Chula Gradeup Tutor ขออธิบายความแตกต่างของการสอบแตกละแบบว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันได้เลย…
7 การสอบที่ต้องรู้ เพื่ออนาคตที่ดี มีอะไรบ้าง
1. GAT (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ
- ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
- ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
-
Speaking and Conversation
-
Vocabulary
- Structure and Writing
- Reading Comprehension
-
ทำไมต้องสอบ GAT
- ใช้ยื่นเข้ามหาลัยในระบบ TCAS รอบที่ 3 , 4 และอาจใช้ยื่นรวมกับ PAT บางคณะ เช่น แพทย์ เภสัช ทันตะ ฯลฯ
2. PAT (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
- PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
- PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
- PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
- PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
- PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
- PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
- PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
- PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
- PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
- PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
ทำไมต้องสอบ PAT
- ใช้ยื่นเข้ามหาลัยในระบบ TCAS รอบ 3 , 4 หรือ แล้วแต่เกณฑ์ของมหาลัย ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา
3. วิชาสามัญ 9 วิชา คือ ข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพื่อใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย แต่เดิมจะสอบเพียง 7 วิชา แต่เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาของสายศิลป์ จึงเพิ่มอีก 2 วิชาเข้าไป รวมเป็น 9 วิชา อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคมศึกษา
- วิชาฟิสิกส์
- วิชาเคมี
- วิชาชีววิทยา
- วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สำหรับนักเรียนสายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
- วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สำหรับนักเรียนสายศิลป์ภาษา)
- วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สำหรับนักเรียนสายศิลป์ภาษา)
ทำไมต้องสอบวิชาสามัญ 9 วิชา
- ใช้ยื่นเข้ามหาลัยในระบบ TCAS รอบ 2 , 3 , 4 หรือ ในโครงการ กสพท. หรือร่วมกับความถนัดแพทย์ หรือ แล้วแต่เกณฑ์ของมหาลัย ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา
4. ความถนัดแพทย์ คือ การสอบวิชาเฉพาะสำหรับน้อง ๆ ที่มีความฝันอยากจะเข้าคณะแพทยศาสตร์ เพราะการสอบความถนัดแพทย์ เป็นการสอบวิชาเฉพาะ เพื่อวัดความสามารถส่วนบุคคล ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนสำหรับการเป็น “แพทย์”
ทำไมต้องสอบความถนัดแพทย์
- เพื่อยื่นในรอบ กสพท. ร่วมกับ วิชาสามัญ 9 วิชาโดยปกติคิดที่ 30%
5. B-MAT (Biomedical Admissions Test) คือ การสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์ สัตวแพทย์ ซึ่งจัดทำโดย Cambridge Assessment
ทำไมต้องสอบ B-MAT
- ใช้เข้าเรียนหลักสูตรแพทยศาสตร์อินเตอร์ ( จุฬา , มหิดล , ธรรมศาสตร์ ) ยื่นรอบรับตรง
6. IELTS (International English Language Testing System) เป็นข้อสอบวัดความสามารถทางภาษา ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความสามารถของผู้สมัครที่ต้องการเรียนหรือทำงาน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ทำไมต้องสอบ IELTS
- ใช้ศึกษาต่อต่างประเทศ หรือ ทำงานต่างประเทศ , ใช้ยื่นร่วมกับ B-MAT
7. TOEIC (Test of English for International Communication) คือ การทดสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับการสื่อสารทั่วๆ ไป TOEIC จะมีอยู่สองแบบคือ TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการอ่าน) และ TOEIC Speaking and Writing Tests (การพูดและการเขียน)
ทำไมต้องสอบ TOEIC
- ใช้ในบริษัทที่ต้องการ เช่น สายการบิน , ใช้เลื่อนตำแหน่ง หรือปรับขึ้นเงินเดือน
8. TOEFL (Test of English as a Foreign Language) คือ การสอบวัดผลภาษาอังกฤษตามมาตรฐานภาษาอังกฤษแบบอเมริกา ที่ออกแบบมาเพื่อประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง
ทำไมต้องสอบ TOEFL
- ใช้เป็นหลักเกณฑ์เมื่อต้องการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ แคนาดา เป็นต้น
ที่กล่าวมาเป็นเพียงการสอบที่นิยมสอบกันเท่านั้น ในความเป็นจริงยังมีการสอบอื่น ๆ อีกมากมายหากน้อง ๆ คนไหนสนใจให้ทางทีม Chula Gradeup Tutor รวบรวมข้อมูลใดเพิ่มเติมสามารถแจ้งได้ โดยคลิกที่นี่ หรืออ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่