วันนี้ทาง Chula Gradeup Tutor จะมาขอแนะนำคณะที่น้อง ๆ หลาย ๆ คนสนใจที่จะสอบเข้าอีกหนึ่งคณะ นั่นก็คือ “คณะเภสัชศาสตร์” หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Faculty of Pharmacy เป็นคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของ “ยา” ดังนั้นคำว่า เภสัชศาสตร์ จึงมาจากการรวมคำว่า เภสัช ที่แปลว่า “ยา” และคำว่า ศาสตร์ ที่แปลว่า “ความรู้” และเมื่อทั้งสองคำถูกนำมารวมกันจึงมีความหมายว่า ความรู้ในเรื่องยา หรือ การศึกษาเกี่ยวกับยา และการที่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอยากรู้ว่า คณะเภสัชศาสตร นั้นเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างนั้น และมีรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นอย่างไรบ้างนั้น ตามมาดูกันต่อได้เลย…
คณะเภสัชศาสตร์ 6 ปี ต้องเรียนอะไรบ้าง?
โดยใน 6 ปีที่น้อง ๆ จะต้องเรียนนั่น น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาผลิตยา ขั้นตอนการผลิตยา วิธีการเก็บรักษายาอย่างถูกวิธี ตลอดจนกระบวนการกระจายยา ซึ่งจะต้องลงลึกไปถึงเรื่องของแหล่งที่มาของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตยาในรูปแบบต่าง ๆ การควบคุมคุณภาพของยา การประกันคุณภาพยา และ เภสัชภัณฑ์ รวมไปถึงเรื่องการวิจัยพัฒนายา และ เภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ ผลข้างเคียงของการใช้ยาแต่ละชนิด การประเมินการใช้ยา การบริหารจัดการเรื่องยา และ กฎหมายเกี่ยวกับยา และ ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และ วัตถุ หรือ สารออกฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
สำหรับในชั้นปีที่ 1-2 น้อง ๆ จะเรียนรู้ด้านเตรียมเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
สำหรับในชั้นปีที่ 3-4 น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยจะศึกษาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และ จุลชีววิทยา นอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และ การฝึกงาน ซึ่งประกอบไปด้วย เภสัชวิเคราะห์ เภสัชศาสตร์สัมพีนธ์ อาหาร และ เคมี โภชนาการศาสตร์ บทนำเภสัชภัณฑ์ เภสัชพฤกษศาสตร์ ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชกรรมและการบริหารเภสัชกิจ เภสัชวิทยา และ เภสัชวิทยาคลินิก นิติเภสัช และ จริยธรรม พิษวิทยา เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชเคมี และ สุดท้ายก็จะเป็นการฝึกปฎิบัติงานจริง
สำหรับในชั้นปีที่ 5-6 น้อง ๆ จะได้ศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่เลือกลึกเฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้เกิดเป็นความชำนาญ และ สามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฎิบัติงาน
เรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปี ต้องเจออะไรบ้าง? เลือกเรียนที่ไหน? จบแล้วทำงานที่ไหน?
คณะเภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)
จะเน้นการศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และ การควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยา และ คิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วสาขาวิชาเภสัชศาสตร์จะอยู่ในสายงานด้านการผลิต จะทำงานประจำที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา
2. สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)
จะเน้นการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้อง และ เหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยา หรือ ใช้ยาอย่างถูกต้อง และ ยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วงานในสาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรมจะทำงานประจำอยู่ที่โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพ ฯลฯ
คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบ รอบแอดมิชชัน (Admission) มีดังนี้
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
** ส่วนในรอบอื่น ๆ ของการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์นั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของ คณะ/มหาวิทยาลัย ที่ต้องการเข้าศึกษาได้เลย
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะเภสัชศาสตร์
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยมหิดล Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยศิลปากร Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยรังสิต Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยพะเยา Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยนเรศวร Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยบูรพา Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยพายัพ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Link : คลิกที่นี่
- มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย Link : คลิกที่นี่
จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง?
- เภสัชกรโรงพยาบาล เช่น เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล ฯลฯ
- เภสัชกรการอุตสาหกรรม เช่น เภสัชกรฝ่ายผลิต เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน เภสัชกรฝ่ายวิจัย และ พัฒนา ฯลฯ จะปฏิบัติงานในโรงงานการผลิตหรือบริษัทจำหน่ายยาทั้งของรัฐ และ เอกชน
- เภสัชกรการตลาด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยา
- เภสัชกรชุมชน เช่น เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ หรือเป็นเจ้าของกิจการร้านยา เป็นต้น
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล ศูนย์อนามัย สถานีอนามัย
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เภสัชกรการศึกษา ฯลฯ
- ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
ทาง Chula Gradeup Tutor หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาให้จะมีประโยชน์กับน้อง ๆ ไม่มากก็น้อย และหวังว่าน้อง ๆ ที่อยากเข้าเรียนคณะเภสัชจะสอบติดสมดังหวังกันทุกคนนะ หากน้อง ๆ ต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่
FB Fanpage : @Chula Gradeup Tutor
Line ID : https://line.me/R/ti/p/%40wud8208i