กองทุนรวม

5 วิธีในการเลือก กองทุนรวม ให้เหมาะกับเรา

หากคุณกำลังจะเริ่มลงทุนผ่าน ” กองทุนรวม ” แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกกองทุนรวมยังไง ทาง Chulagradeup ขอมาแนะนำ วิธีการในการคัดเลือกกองทุน ที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนมือใหม่ว่าควรเริ่มอย่างไร ตามมาอ่านกันต่อได้เลย…

กองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะรวมนำเงินมาไว้ด้วยกันในกองทุน โดยมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ดูแลบริหารจัดการทรัพย์สินของนักลงทุน โดยการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์สินต่างๆ ตามเป้าหมาย สัดส่วน และแผนการที่ตั้งไว้ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์ของกองทุนรวมมีจำนวนมาก ดังนั้น นักลงทุนมือใหม่ ก็จะเจอปัญหาเวลาเลือกซื้อกองทุนรวมตัวใดตัวหนึ่ง ว่าควรจะทำอย่างไรดีนะ

5 วิธีในการเลือก “กองทุนรวม” ให้เหมาะกับเรา

1.ตั้งเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้

ก่อนจะเริ่มลงทุน การมองหาเป้าหมายในการลงทุนก่อนถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะต้องการผลตอบแทนระยะยาวเพื่อชีวิตหลังเกษียณ หรือระยะสั้น ออมไว้เพื่อใช้จ่ายในอนาคตอันใกล้ การเข้าใจเป้าหมายการลงทุนของตนเอง จะช่วยให้เลือกซื้อกองทุนที่ใช่ จากผลิตภัณฑ์ที่มีมากมายได้

เรื่องการรับความเสี่ยงก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ สามารถรับได้ไหมหากบางกองทุนมูลค่าในพอร์ตก็จะขึ้นลงไปมา หรือรู้สึกว่าลงทุนแบบเสี่ยงน้อยเหมาะกว่า? เพราะความเสี่ยงและผลตอบแทนมักจะไปคู่กัน ที่นิยมเรียกกันว่า High Risk High Return ผู้ลงทุนก็ควรคำนึงถึงระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยงที่เราจะรับได้ด้วยนะ

สิ่งสุดท้ายคือ ระยะเวลาในการลงทุน ว่าเราสามารถถือเงินไว้ในรูปแบบกองทุนได้นานแค่ไหน? จะมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเร็วๆ นี้หรือเปล่า? เพราะกองทุนรวมมักจะมีค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผลตอบแทนได้เช่นกัน วิธีการเลี่ยงค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะต้องศึกษาหากองทุนที่ไม่มีค่าธรรมเนียมการขายดูก็ได้นะ

2.รูปแบบและประเภทของกองทุนรวม

– กองทุนที่เน้นการเติบโต คือ มูลค่าที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว หากคุณอยากลงทุนระยะยาวและพร้อมรับความเสี่ยง-ความผันผวน กองทุนระยะยาวจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะมาก กองทุนประเภทนี้จะลงทุนไปกับหุ้นเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความเสี่ยงสูงเป็นธรรมดา แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงมากเช่นกัน ช่วงเวลาที่กองทุนประเภทนี้กำหนดให้ถือจะอยู่ที่ 5 ปี หรือมากกว่า

– กองทุนที่เน้นการเติบโตและเน้นมูลค่าที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว มักจะไม่มีการจ่ายปันผล หากเราอยากให้มีกระแสรายรับผ่านการลงทุน ควรเลือกลงทุนกองทุนรวมตราสารหนี้จะดีกว่า เพราะกองทุนเหล่านี้จะเน้นลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผล โดยกองทุนรวมประเภทนี้จะเน้นลงทุนในพันธบัตรของรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชนเป็นหลัก กองทุนรวมตราสารหนี้มักจะจำกัดขอบเขตการลงทุนตามประเภทของพันธบัตรที่ถือ โดยความต่างหลักๆ จะอยู่ที่ช่วงเวลา อาจจะเป็นได้ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

กองทุนรวมประเภทนี้มักมีความผันผวนต่ำ โดยขึ้นอยู่กับประเภทของพันธบัตรในพอร์ตการลงทุน แต่กองทุนตราสารหนี้แทบไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากตลาดหุ้น

ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้เพิ่มกระจามความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น แต่กองทุนรวมตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่ ได้แก่
1)อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะสัมพันธ์ต่อต่อราคาพันธบัตร ถ้าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง
2)ผู้ออกพันธบัตรอาจผิดนำชำระหนี้ (แต่โอกาสเป็นไปได้ต่ำมาก)

แต่ถ้าคุณมีการลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว และต้องการลงทุนในตราสารหนี้เพื่อการกระจายความเสี่ยง ความเสี่ยงเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่นัก

แต่นักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวและยังรับความเสี่ยงไม่ได้มาก กองทุนรวมที่เน้นลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้อาจเป็นตัวเลือกที่ดีในกรณีนี้

กองทุนรวม

3.ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

บริษัทที่ดูแลกองทุนจะได้รายได้จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากนักลงทุน การทำความเข้าใจค่าธรรมเนียมต่างๆ ก่อนทำการซื้อขายถือเป็นเรื่องสำคัญ

กองทุนรวมบางตัวจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายอาจเก็บตอนซื้อหรือขายกองทุนก็ได้ หรือที่เรียกกันว่า Front-End Fee คือ การเก็บค่าธรรมเนียมในครั้งแรกที่ซื้อกองทุน

ส่วนค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Back-End Fee) จะเรียกเก็บเวลาที่คุณขายกองทุนคืน

แต่จะเรียกเก็บเฉพาะเวลาขายคืนกองทุนดังที่กำหนดระยะเวลาการถือครองชัดเจน เช่น 5 – 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

ค่าธรรมเนียมเหล่านี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นักลงทุนทำการซื้อขายบ่อยเกินจำเป็น ค่าธรรมเนียมส่วนมากมักจะสูงในปีแรกๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะค่อยลดลงตามระยะเวลา

โดยค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจะคิดที่ 1.5% – 2% ของมูลค่าซื้อขาย ค่าธรรมเนียมส่วนนี้้เป็นรายได้เดียวที่จะกระจายไปยังฝ่ายบริหารจัดการกองทุนต่างๆ

และยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมแบบที่สาม เรียกว่า Level-Load เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บรายปีจากสินทรัพย์ที่ได้จากกองทุน หรืออาจจะมีไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เลย แต่เรียกเก็บจากค่าบริหารจัดการกองทุนแทน

บางกองทุนรวมอาจเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการกระจายกองทุนรวม และค่าทำการตลาด ซึ่งจะจ่ายให้กับโบรกเกอร์เป็นค่าคอมมิชชั่นในการขายกองทุน

4.กองทุนที่บริหารแบบเชิงรุก (Active) หรือเชิงรับ (Passive)

ก่อนซื้อกองทุนรวม เราต้องตัดสินใจแต่เนิ่นๆ ว่าอยากได้วิธีการบริหารจัดการกองทุนเชิงรุกหรือเชิงรับ กองทุนรวมที่ผู้จัดการกองทุนทำงานเชิงรุกจะตัดสินใจว่าควรมีหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ตัวไหนบ้างในกองทุน ด้วยการค้นหาข้อมูลของแต่ละสินทรัพย์ พิจารณาประเภทและพื้นฐานธุรกิจ แนวโน้มเศรษฐกิจ ไปจนถึงปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์มหาภาคก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุนที่เน้นบริหารเชิงรุก (Active) จะหาวิธีเอาชนะดัชนีตลาด ส่งให้มีค่าธรรมเนียมการบริการกองทุนที่ค่อนข้างสูง

ส่วนกองทุนที่เน้นบริหารเชิงรับ (Passive) จะค่อนข้างอิงกับดัชนีตลาด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ในพอร์ตมากนัก ทำให้มีค่าธรรมเนียมการบริหารที่ค่อนข้างต่ำ

5.การประเมินผลงานที่ผ่านมาของผู้จัดการกองทุน

การศึกษาข้อมูลเก่าๆ ก่อนการลงทุนทุกครั้งถือเป็นเรื่องสำคัญ มีคำถามมากมายที่นักลงทุนควรตั้งคำถามขณะที่กำลังดูข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุนนั้นๆ

– ผู้จัดการกองทุนได้ผลลัพธ์การบริหารที่เทียบเท่ากับผลตอบแทนของตลาดหรือไม่?

– กองทุนนั้นๆ มีความผันผวนสูงกว่าดัชนีของตลาดหลักหรือเปล่า

– ผลตอบแทนที่สูงมากผิดปกติจะส่งผลเรื่องค่าดำเนินการและภาษีต่อนักลงทุนไหม?

คำตอบที่หาได้จะช่วยให้เรามีข้อมูลเชิงลึกว่าผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการได้ผลแบบไหน และเห็นว่าแนวโน้มผลตอบแทนจะเป็นอย่างไร

ก่อนจะซื้อกองทุน การทนทวนพื้นฐานการลงทุนใหม่ ก็พอให้แนวทางได้ว่าผลตอบแทน ภาคธุรกิจในกองทุนนั้นๆ และแนวโน้มการตลาดจะส่งผลอย่างไรต่อการดำเนิงานของกองทุน

สุดท้ายนี้ทาง Chulagradeup หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะ

#Chulagradeup #วางแผนการเงิน #กองทุนรวม #RMF

ที่มา : InvestDD

Scroll to top