การวางแผนเป็นสิ่งที่จำเป็น และควรเป็นสิ่งแรกที่ควรจะทำเป็นอันดับแรก ๆ การที่น้อง ๆ จะทำข้อสอบ GAT/PAT ให้ได้คะแนนดี ๆ นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้ของเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับเทคนิค หรือ การวางแผนการทำข้อสอบของน้อง ๆ ด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถฝึกฝนกันได้ ดังนั้นทางทีม Chula Gradeup Tutor ขอแนะนำเทคนิคในการทำข้อสอบ GAT/PAT ให้ได้คะแนนดี ๆ ไปลองใช้กันดู มีวิธีใดบ้าง ตามมาดูกันได้เลย…
8 เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ให้ได้คะแนนดี มีดังนี้
1. ฝึกทำข้อสอบเก่า
การทำข้อสอบเก่าย้อนหลังนั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะการสอบ GAT เชื่อมโยงนั้นเป็นสิ่งที่น้อง ๆ หลาย ๆ คนไม่เคยเจอ เพราะเป็นข้อสอบที่ไม่เหมือนการสอบในโรงเรียน ดังนั้น ควรดูข้อสอบเก่าย้อนหลังไปอย่างน้อย ๆ 5-10 ปี จะได้พอรู้แนวข้อสอบบ้างว่า แนวการออกข้อสอบ GAT เชื่อมโยง เป็นแบบไหน
2. ตั้งสติ และสมาธิดี ๆ
เนื่องจากข้อสอบนั้นเป็นเนื้อหาที่มีความยาวมาก ดังนั้นการมีสติ และ สมาธิในการอ่านเนื้อหาทุกคำให้ละเอียดนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการเชื่อมโยงบางคำนั้นอาจซ่อนอยู่เพียงบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งในเนื้อหาก็เป็นได้
3. อ่านคำสั่งก่อนเสมอ
การอ่านคำสั่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับน้อง ๆ ที่จะสอบ GAT เชื่อมโยงควรอ่าน คือ คำสั่งในการทำข้อสอบก่อนทำข้อสอบก่อนเสมอ ว่าสัญลักษณ์แต่ละตัวแทนความหมายว่าอย่างไร เช่น A แทน “ส่งผลทำให้” เพราะสัญลักษณ์ หรือ ตัวอักษรเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไป ไม่เหมือนกับที่น้อง ๆ เคยทำมาในข้อสอบเก่าก็เป็นได้ ดังนั้นอ่านคำสั่งก่อน เพื่อความไม่ประมาท
4. ตีความเนื้อหา ตามโจทย์ที่ให้เท่านั้น
การคิดเอง เออเอง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้น้อง ๆ เสียคะแนนไปได้เป็นจำนวนมากในการทำข้อสอบ GAT เพราะเนื้อหาใน ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง นั้นในหลาย ๆ ครั้ง จะเป็นเรื่องราวที่น้อง ๆ อาจจะพอมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอยู่บ้างแล้ว จึงทำให้เมื่ออ่านเนื้อหาไปเรื่อย ๆ น้อง ๆ จะมีการเพิ่มเติมเนื้อหาที่เคยรู้มาก่อนแล้วมาไว้ในสมองโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้การตีความหมายเนื้อหานั้นผิดไปได้มากเลยละ ดังนั้น ควรจะอ่าน และตีความหมายตามเนื้อหาที่โจทย์ให้มาเท่านั้น ห้ามคิดไปเองเพิ่มเติมเด็ดขาด
5. ขีดเส้นใต้เป็นเรื่องสำคัญ
ก่อนทำข้อสอบให้น้อง ๆ อ่านคำ หรือ ข้อความที่โจทย์กำหนดมาให้ด้วยตัวหนา เชื่อมโยงก่อน แล้วจึงขีดเส้นใต้ “คำใกล้เคียง” หรือคำที่มีความหมายเหมือนกับคำที่โจทย์กำหนดมาแต่ใช้คำที่แตกต่างกัน เช่น ข้อสอบทำตัวหนาคำว่า “หมาป่า” แล้วในข้อสอบบอกว่า “หมาป่าหรือสุนักจิ้งจอก เป็นสัตว์……” หมายความว่าคำว่า “หมาป่า” และ “สุนัขจิ้งจอก” นั้นมีความหมายเหมือนกัน น้อง ๆ จึงควรขีดเส้นใต้ทั้งสองคำเมื่ออ่านเจอในเนื้อหาเสมอเพื่อป้องกันความสับสน
6. อ่านไป เขียนไป
พี่แนะนำให้น้องๆ อ่านเนื้อหาไปพร้อมร่างแผนภาพไปด้วย เช่นเมื่อเจอ “อากาศร้อน (01) ส่งผลให้ เปิดแอร์มากขึ้น (02)” น้อง ๆ ก็ควรจะทำแผนภาพเชื่อมโยงระหว่าง 01 และ 02 ไปด้วยเลย ไม่ต้องรอมานั่งร่างแผนภาพใหญ่ทีเดียว เพราะ ทำให้เสียเวลา และสับสนได้
7. ดูเส้นที่ลากออกจากตัวเท่านั้น
เมื่อต้องฝนรหัสคำตอบ ให้ดูเส้นที่ลากออกจากคำหรือข้อความเท่านั้น เช่น มีเส้นที่ลากออกจาก (01) อยู่ 3 เส้นในแผนภาพแสดงว่า เมื่อฝนรหัสคำตอบลงใน ข้อความที่ (01) จะต้องมีเพียง 3 รหัสคำตอบเท่านั้น
8. ตรวจสอบคำตอบเมื่อฝนคำตอบ
ตรวจสอบอีกครั้งก่อนส่งว่าคำตอบที่ฝนรหัสกับแผนภาพที่ร่างไว้นั้นตอบเหมือนกันหรือไม่ เพราะถ้าน้อง ๆ อุตส่าห์ร่างแผนภาพได้ถูกต้องแล้วจะต้องมาเสียคะแนนไปเพียง เพราะฝนรหัสคำตอบผิดคงจะน่าเสียใจไม่ใช่น้อย
เป็นอย่างไรบ้างกับ 9 เทคนิคการทำ GAT เชื่อมโยง ให้ได้เต็มโดยทีม ติวเตอร์ จาก Chula Gradeup Tutor หวังว่าจะพื้นฐานให้น้อง ๆ ได้รู้เทคนิคก่อนที่จะไป เรียนพิเศษตัวต่อตัว หรือ ติว GAT เชื่อมโยง เพื่อให้ได้คะแนนดี ๆ กันทุกคน หากน้อง ๆ ต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่