แผลที่ใกล้หาย ทำไมถึงมี “อาการคัน” มากผิดปกติ?

“อาการคัน”เมื่อแผลใกล้หาย เป็นสิ่งที่แทบทุกคนต้องเคยเจอ เมื่อแผลที่ใกล้หาย อาการคัน ที่เกิดขึ้นจนแทบห้ามใจไม่ให้เกาไม่ไหว

ทำไมจึงเกิดอาการคันเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อแผลใกล้หาย?

บอกได้เลยว่าอาการ “คัน” คือสิ่งที่ทุกคนต้องเคยเจอมาแล้วก็ว่าได้ ยิ่งในกรณีที่เมื่อแผลของคุณนั้นใกล้หายแล้ว แต่เกิดอาการคันขึ้นมาจนแทบจะห้ามใจไม่ให้เกาไม่ไหว จึงทำให้เกิดอาการคันเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อแผลใกล้หายนั้นเอง โดยแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุแต่มีทฤษฎีที่อาจจะสามารถที่อาจจะอธิบายได้และก็ว่าได้ด้วยกระบวนการของการสมานแผลนั่นเอง

มีหลักการมากมายที่สามารถอธิบายการเกิดสะเก็ดแผลที่ทำให้คัน ในสะเก็ดแผลมี “ฮีสตามีน” ที่ทำให้ผิวหนังรอบบาดแผลระคายเคือง แพทย์บางท่านคิดว่าเป็นกลไกของร่างกาย ในการกำจัดสะเก็ดแผลที่ไม่ต้องการอีกต่อไป เมื่อเกิดอาการคัน เรามักเกา และสะเก็ดจะหลุดออก แต่ก็มีข้อบกพร่องในทฤษฎีนี้ เนื่องจากในบางครั้งอาการคันที่สะเก็ดแผล เกิดขึ้นก่อนที่แผลจะสมานเสียอีก

ทฤษฎีที่สองเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนัง เมื่อร่างกายเริ่มเยียวยาตนเอง เส้นประสาทจะไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ เมื่อแผลเริ่มหาย สัญญาณต่างๆ อาจส่งผลกระทบ และสมองได้รับสัญญาณผิดประเภท จึงตีความว่าเป็นอาการคัน และทำให้ร่างกายต้องเกาสะเก็ดที่เกิดขึ้น

อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ ในขณะที่แผลเริ่มสมาน สะเก็ดแผลจะดึงรั้งผิวหนังใหม่ ทำให้เกิดอาการคันที่บริเวณสะเก็ดแผล

ประการสุดท้ายก็คือ สภาพผิวที่แห้งอาจเป็นสาเหตุของอาการคัน เมื่อมีแผลเกิดขึ้น ผิวหนัง เส้นประสาท และต่อมเหงื่อ จะได้รับความเสียหาย และไม่มีน้ำมัน จึงทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแห้ง

การปฐมพยาบาล

หากคุณกำลังมีคำถามว่า “ทำไมถึงมีอาการคันเมื่อแผลใกล้หาย” นั่นหมายความว่า แผลของคุณกำลังมีอาการดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดี ในการช่วยให้แผลเยียวยาตัวเองได้ การปฐมพยาบาลในตอนแรกเป็นสิ่งสำคัญมาก และนี่คือวิธีการที่ควรปฎิบัติ

1. ห้ามเลือด โดยการกดแผลด้วยผ้าสะอาดอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 20-30 นาที หากคุณเอาผ้าที่ปิดแผลออก ลิ่มเลือดที่ปากแผลอาจหลุดออกมา และอาจทำให้เลือดไหลอีกครั้งได้ ควรไปพบหมอหากเลือดไม่หยุด

2. ทำความสะอาดแผล โดยการให้น้ำเย็นไหลผ่านแผล หากเป็นไปได้ ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่และซับแผลให้แห้ง

3. ทายาฆ่าเชื้อบางๆ บริเวณแผล เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

4. ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ควรปิดพลาเตอร์ตามแนวขวางชองแผลเสมอ ไม่ใช่ตามแนวยาว เมื่อแผลเริ่มหาย ควรเปิดแผลให้ได้รับอากาศ ไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ต่อ

5. เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกวัน หรือเมื่อผ้าที่ปิดแผลสกปรก หรือเปียก ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าปิดแผลต่อ หากแผลตกสะเก็ดแล้ว

6. เข้ารับการเย็บแผล หากแผลลึกกว่า 1/4 นิ้ว หรือมีขอบแผลที่ผิดปกติ และควรเข้ารับการเย็บแผลทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ความจริงแล้ว อาการคันเรื้อรัง ไม่ต่างจาก “ความรู้สึกปวดทางผิวหนัง” และไม่เพียงเท่านั้น เราไม่ควรเพิกเฉยกับอาการคันต่อเนื่อง การคันเรื้อรังอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการของโรคบางอย่างได้ เช่น โรคตับ หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ดังนั้นหากเราเกิดอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานานควรไปพบแพทย์ควบคู่ไปด้วย

ขอบคุณข้อมูล : www.sanook.com

Scroll to top