ช่วงนี้หลาย ๆ คนมักจะพูดกันว่าเศรษฐกิจชะลอ เงินหมุนไม่ทัน โดยเฉพาะยิ่งบางโรงเรียนเปิดเทอมด้วยแล้ว ยิ่งสภาพคล่องยิ่งลดลง ดังนั้นทาง Chula Gradeup Tutor ขอรวบรวม แหล่งเงินทุน เพื่อการศึกษาให้กับ คุณพ่อ คุณแม่ ที่หมุนเงินไม่ทัน เพราะค่าใช้จ่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้า ฯลฯ โดยที่ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองเกือบ ร้อยละ 40 มีเงินไม่พอต่อค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน และ มองหาวิธีการกู้ยืมเงินจาก แหล่งเงินทุน ต่าง ๆ เพื่อให้ลูก ๆ ได้มีการศึกษาที่ดี จะมีแหล่งใดบ้างนั้น ตามมาดุกันได้เลย
5 แหล่งเงินทุนเพื่อการศึกษา หมุนจ่ายค่าเทอม ยอดนิยม มีดังนี้
ปัจจุบัน มีแหล่งเงินทุนให้เลือกหลากหลาย แต่ผู้ปกครองหลายคนอาจไม่แน่ใจว่าสินเชื่อประเภทใดเหมาะกับตนเองมากที่สุด “คาร์ ฟอร์ แคช” ผู้นำตลาดสินเชื่อเพื่อคนมีรถ จึงขอเปรียบเทียบแหล่งเงินทุนประเภทต่างๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนการเงินได้อย่างสบายใจ ยิ้มได้จนจบเทอม
1. สินเชื่อรถแลกเงิน
เป็นแหล่งเงินทุนที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ สินเชื่อเพื่อคนมีรถ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี (แบบคงที่) ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นในวงเงินเท่ากัน และ ระยะเวลาผ่อนชำระค่อนข้างนาน สูงสุดถึง 84 เดือน ทำให้ภาระค่าใช้จ่าย แต่ละเดือนของผู้ปกครองไม่สูงเกินไป นอกจากนี้ ผู้บริการหลายแห่งยังเสนอเงื่อนไข “โปะ” โดยสามารถชำระค่างวดใน แต่ละเดือนได้มากกว่าที่กำหนดเมื่อมีความพร้อม ดอกเบี้ยก็จะน้อยลง ผ่อนได้หมดเร็วขึ้น และไม่ต้องโอนเล่มทะเบียนอีกด้วย
หนึ่งในความกังวลของผู้ปกครองเกี่ยวสินเชื่อประเภทนี้ก็คือ ขั้นตอนซับซ้อน มีข้อจำกัดเยอะ แต่ปัจจุบันขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อมีความรวดเร็วขึ้นมาก เช่น “คาร์ ฟอร์ แคช” ก็สามารถอนุมัติและรับเงินได้ภายใน 1 วัน อีกทั้งยังครอบคลุมทั้งรถยนต์ และบิ๊ก ไบค์ นอกจากนี้ ยังให้วงเงินสูงสุดถึงร้อยละ 100 ตามราคาประเมินรถ สำหรับประเภท “โปะ” สูงสุดถึง 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 12 ต่อปี (แบบลดต้นลดดอก) ทำให้มีเงินทุนไปใช้เพิ่มเติมในกรณีที่ต้องการเสริมสภาพคล่องในครอบครัว หรือ ธุรกิจได้อีกด้วย
2. บัตรกดเงินสด
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่คุ้นเคยกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ประเภทบัตรกดเงินสด คงเป็นตัวเลือกที่นึกถึง เพราะสะดวก เข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้น บัตรกดเงินสดยังมาพร้อมกับบริการที่ตอบโจทย์การใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนวงเงิน ให้เลือกการแบ่งผ่อนชำระได้หลายรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแหล่งเงินทุนประเภทนี้ถือเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยจึงค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 28 ต่อปี ดังนั้น ถ้าไม่บริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ อาจทำให้เกิดภาระหนี้สินเกินตัวได้
3. สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์
เป็นสินเชื่อรายย่อย วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับใช้อเนกประสงค์ สินเชื่อประเภทนี้ให้บริการโดยบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยผู้ประกอบกิจการสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่บุคคลที่เป็นคนในพื้นที่ (ทำงานหรือมีถิ่นที่อยู่) ภายในจังหวัด แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงอยู่สักนิดที่ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี รวมค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่ก็มีความโปร่งใส่ เป็นธรรม พร้อมทางเลือกแบบมีหลักประกัน หรือ ไม่มีก็ได้ และแม้วงเงินจะไม่สูงมาก แต่ก็มากพอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้ ทำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมได้เช่นกัน
4. โรงรับจำนำ หรือ สถานธนานุเคราะห์
การนำทรัพย์สินส่วนตัวไปจำนำยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยเลือก เพราะหลายคนมองว่ามีข้อจำกัดน้อย สามารถนำทรัพย์สินใด ๆ ก็ได้ไปค้ำประกัน และอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงเกินไป เช่น โรงรับจำของรัฐกำหนดไว้ที่ร้อยละ 0.25 – 1.25 ต่อเดือน นอกจากนี้ โรงรับจำนำของเอกชนเองก็ยังพัฒนาบริการให้น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และทันสมัยอีกด้วย แต่ต้องอย่าลืมว่าตั๋วจำนำมีอายุ ดังนั้น ในกรณีที่เงินต้นมีมูลค่าสูง คุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถหาเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และต้องสูญเสียทรัพย์สินซึ่งหลายครั้งมีคุณค่าทางจิตใจไป
5. เงินกู้นอกระบบ
เรารู้ถึงความเสี่ยงของเงินกู้นอกระบบ และไม่สนับสนุนให้เลือกใช้สินเชื่อประเภทนี้ เพราะนอกจากจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรมจากการไม่มีกฎหมายรองรับ แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจยังคงนึกถึง ในสถานการณ์ที่วงเงินเต็มบ้าง หรือขอสินเชื่อในระบบไม่ผ่านบ้าง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งสถาบันการเงิน และ องค์กรของรัฐเองมีมาตรการช่วยเหลือมากมาย ผู้ปกครองจึงควรปรึกษาหน่วยงานเหล่านี้เกี่ยวกับเงื่อนไขการผ่อนชำระ รวมถึงศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
แน่นอนว่าแหล่งเงินทุนเหล่านี้ไม่ใช่ทางออกที่จะแก้ไขปัญหาการเงินทุกอย่างของครอบครัว สิ่งที่ดีที่สุด คือ การวางแผนแต่เนิ่น ๆ รวมถึงควรเตรียมเงินออมไว้สำหรับค่าเล่าเรียน และ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ เพื่อให้มีเงินเพียงพอในยามฉุกเฉินนั่นเอง
FB Fanpage : @Chula Gradeup Tutor
Line ID : https://line.me/R/ti/p/%40wud8208i