ใกล้ถึงวันที่จะยื่นคะแนน TCAS รอบ 3 แบบรับตรงร่วมกันแล้วนะ หากน้อง ๆ คนไหนที่เรียนสายวิทย์ – คณิต หรือศิลป์ – คำนวณ และยังไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนคณะไหนดี หรืออยากทำ “อาชีพ” อะไร วันนี้ทาง ติวเตอร์จุฬา (Chula Gradeup Tutor) มีอาชีพสำหรับคนชอบเรียนเลข อยากรู้ว่าเป็น “อาชีพ” ใด ไปดูกันเลย !
อาชีพที่เหมาะกับคนชอบเรียน “คณิตศาสตร์”
1. นักวิศวกรรมการเงิน
เริ่มต้นกันด้วยอาชีพวิศวกรรมการเงิน อาชีพนี่ยังค่อนข้างใหม่ในประเทศไทยมักไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่เป็นอาชีพที่ความต้องการในตลาดแรงงานกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้ว การเรียนในสาขาวิศวกรรมการเงินจะเน้นการเรียนทักษะด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนการใช้เครื่องคำนวณและเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชำนาญ เมื่อจบแล้ว งานที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านบริหารความเสี่ยง นโยบายสินเชื่อ วิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือการเป็นนักวิจัยในหน่วยงานธนาคาร และบริษัทหลักทรัพย์
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ปริญญาตรี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการเงิน
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปริญญาโท – หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการเงิน
3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ปริญญาโท) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงินและการจัดการ (FEM)
4. โครงการหลักสูตรร่วม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง + นิด้า KMITL-NIDA Double Degree Program in Financial Engineering (หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท (4+1) – นานาชาติ)
2. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (DATA SCIENTIST)
ถือได้ว่าเป็นอาชีพมาแรงแห่งทศวรรษที่บริษัทเล็ก ใหญ่ ต่างต้องการตัวไปร่วมทำงานด้วย แถมค่าตอบแทนยังสูงอีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะทำหน้าที่ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนั้น ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ถือเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะอาชีพนี้ต้องอยู่กับตัวเลขและข้อมูลมหาศาล
ทักษะที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องมี
1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
ปัจจุบันยังไม่มีมหาวิทยาลัยหรือคณะไหนเปิดสอนสาขาเพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลโดยตรง แต่น้อง ๆ ที่สนใจสายงานนี้ก็สามารถเรียนในคณะที่เกี่ยวข้องได้ อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือคณะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
อาชีพสุดท้ายที่แนะนำในวันนี้คือ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย อาชีพที่ค่าตอบแทนสูง และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการคาดคะเนและประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจ การประเมินความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและอนาคต หรือเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินแก่บริษัทประกันภัยและธนาคาร การเรียนในสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจะต้องศึกษาความรู้หลาย ๆ ด้านเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน อาทิ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ การประกันภัย
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการเรียน
1. ต้องมีความถนัดในการคำนวณ เพราะน้อง ๆ จะต้องเรียนทั้งสถิติและคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเอาไปประยุกต์เป็นหลักด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
2. มีความละเอียดรอบคอบ มีความซื่อสัตย์
3. ทำงานอย่างมีหลักการและมีเหตุผล หาที่มาที่ไปได้
4. ชอบติดตามความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าในวงการธุรกิจ
5.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบทำงานติดต่อกับผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาควิชาสถิติ สาขาประกันภัย
2. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย (หลักสูตรนานาชาติ)
3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาสถิติธุรกิจและการประกันภัย
5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตประยุกต์
6. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง
7. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญคณะบริหารธุรกิจ สาขาการประกันภัย
8. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) คณะสถิติประยุกต์ สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
9. มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ สาขาการประกันภัย
หากน้อง ๆ คนไหนชอบเรียนคณิตศาสตร์ อาชีพดังกล่าวนี้เป็นอาชีพที่ค่อนข้างน่าสนใจ ทางทีม ติวเตอร์จุฬา (Chula Gradeup Tutor) ขอแนะนำให้เตรียมพื้นฐานคณิตให้แน่นกันตั้งแต่เนิ่น ๆ และหากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง สามารถปรึกษาทางเลย รับรองว่านำไปต่อยอดได้แน่นอน คลิกที่นี่ ถ้าน้อง ๆ ต้องการอ่านบทความเพิ่มเติม คลิกที่นี่
FB Fanpage : @ChulaGradeup