สำหรับน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่มักมีปัญหากับการสอบวิชา ท่องจำ เช่น เคมี ชีวะ ภาษาไทย สังคม หรือ วิชาเฉพาะต่าง ๆ ที่ต้อง ท่องจำ ซึ่งวิชาเหล่านี้นั้น น่าจะเป็นปัญหาอย่างมาก สำหรับน้อง ๆ หลายคน เพราะเนื้อหามักจะเยอะ คำศัพท์จำได้ยาก จำได้ก็ลืมเร็ว ซึ่งเชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนกำลังอยากรู้ว่า มีเทคนิคอะไรบ้างไหมที่ช่วยให้จำเนื้อหาของวิชาเหล่านั้นได้ดีขึ้น เร็วขึ้น หรือ นานขึ้น แน่นอนว่าน่าจะต้องมีบ้างแหละ และวันนี้ Chula Gradeup Tutor ก็มีเคล็ดลับ พิชิตวิชาท่องจำเหล่านั้นมาฝากน้อง ๆ ทุกคน ด้วย มีวิธีใดบ้างไปดูกันเลย …
5 เคล็ดลับ พิชิตวิชาท่องจำ
1. มีสมุดเล็กสักเล่ม
แน่นอนว่าปัญหาที่มักจะเจอกันของการเรียนวิชาท่องจำ คือ คำศัพท์ ที่มีค่อนข้างเยอะมากกกกก และ หลาย ๆ คน กำลังประสบปัญหาว่าจำศัพท์ไม่ได้ จำแล้วลืม
วิธีแก้ คือ น้อง ๆ ลองหาสมุดเล่มเล็ก ๆ หรือเล่มใหญ่ ๆ แล้วแต่ชอบมาซักเล่ม เพื่อนำมาพกติดตัวไว้สิ แล้วเมื่อไหร่ที่เรียนแล้วมีคำศัพท์ใหม่ ๆ หรือเรื่องราวใหม่ ๆ ก็จดคำศัพท์ และ คำอธิบายสั้น ๆ ว่าคืออะไร เมื่อกลับบ้านช่วงเย็นก็เปิดสมุดขึ้นมาดู และ ท่องศัพท์เหล่านั้น พี่เชื่อว่าวันนึงมีไม่กี่คำหรอก เพียงเท่านี้ก็จะทำให้น้อง ๆ สามารถจำศัพท์เหล่านั้นได้ โดยใช้เวลาต่อวันแค่นิดเดียวเท่านั้นเอง
2. อ่านแล้วเขียนตาม
เป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถจำศัพท์ วิชาชีวะ วิชาเคมี หรือ ศัพท์เฉพาะในวิชาต่าง ๆ ได้ การที่น้อง ๆ อ่าน และ เขียนออกมานั่นเป็นวิธีที่ดี
เพราะการอ่าน และ เขียนออกมานั้นเป็นการฝึกสมองมากกว่าการอ่านผ่านเพียงอย่างเดียว สมองจำเป็นต้องจำรายละเอียดให้ได้มากกว่านั้น และ เห็นภาพรวม
เพื่อที่จะเขียนออกมากได้ เช่น เมื่ออ่านเรื่องประวัติศาสตร์แบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์คนต่าง ๆ จบ หรือ ระหว่างอ่านก็ลองเขียนสรุปย่อ ๆ ของแบบจำลองอะตอมของแต่ละคนไว้ ก็จะช่วยให้จำเนื้อหาได้มากขึ้น และ ยังกลับมาทบทวนง่ายขึ้นอีกด้วย
3. ใช้ภาพช่วยจำ
เคล็ดลับนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับคนเรียนวิชาท่องจำเก่งใช้กันเป็นจำนวนมาก เพราะ เคล็ดลับนี้นั้นจะช่วยลดระยะเวลาที่ใช้จำเนื้อหาไปได้มาก และ เนื้อหายังสามารถจดจำได้นานอีกด้วย
เช่น ถ้าหากน้องท่องเรื่อส่วนประกอบของเซลล์ว่า ……เซลล์ประกอบไปด้วย ส่วนห่อหุ้มเซลล์ และ โปรโตพลาสซึม ซึ่งโปรโตพลาสซึมก็อาจแบ่งได้เป็น ไซโตพลาสซึม และ นิวเคลียส ซึ่ง ไซโตพลาสซึม ก็อาจแบ่งได้เป็น ไซโตซอล และ ออร์แกแนล และ ไรโบโซม ซึ่งเป็น ออร์แกแนล ที่ไม่ได้เยื่อหุ้มมีขนาดเล็กกระจายอยู่ใน ไซโตพลาสซึม ……..
กว่าจะอ่านจบก็คงจะนาน และ อ่านจบไปแล้วให้วาดรูปเซลล์ก็คงจะวาดไม่ได้ ดังนั้น การจดจำเป็นภาพอาจช่วยทำให้อะไรดีขึ้นมามากขึ้นก็เป็นได้ หาภาพเซลล์มาแล้วดูประกอบคำบรรยาย น่าจะช่วยให้จำได้มากขึ้นแน่นอน
4. อ่านแล้วมาสอนเพื่อน
เป็นอีกวิธีที่สำคัญอีกวิธีหนึ่งในการเรียนวิชาท่องจำให้ได้ดีขึ้น การสอนเพื่อน มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ยืนยันว่าการเรียนรู้ผ่านการสอนผู้อื่นนั้น จะช่วยให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดี และ นาน เพราะก่อนที่จะสอนผู้อื่น น้อง ๆ จะต้องสามารถเข้าใจ และ เห็นภาพรวมของเนื้อหาได้ เพื่อที่จะสรุปออกมาเป็นคำพูดของตัวเอง ในการสอนเพื่อน ๆ ได้นั่นเอง
5. จำเท่าที่จำเป็น
พอเป็นวิชาท่องจำแล้ว หลาย ๆ คน คิดว่าวิธีการเรียนให้เก่งวิชาเหล่านี้ คือ ต้องจำให้ได้มากที่สุด จำให้ได้เยอะที่สุด ซึ่งความคิดนั้นอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก่อน คือ น้อง ๆ ไม่สามารถจำเนื้อหาทั้งหมดได้แน่นอน! หรือ ถ้าจำได้ ไม่นานก็ลืม โดยเฉพาะในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่อาจมีทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เลข ไทย สังคม วิชาเฉพาะ เยอะไปหมดจำหมดก็ไม่ไหว
ดังนั้น น้องต้องจำเท่าที่จำเป็น ถ้าต้องจำจริง ๆ ก็ต้องวางแผนจัดเตรียมเนื้อหาที่ควรจำออกเป็นส่วน ๆ ว่าส่วนไหนสำคัญ และ ส่วนไหนยังไม่สำคัญ เพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็สามารถจดจำในเรื่องที่สำคัญเท่านั้นได้ แต่ในบางครั้งบางเนื้อหาอาจไม่สำคัญในวันนี้ แต่อนาคตอาจจะสำคัญก็อย่างลืมมาจดจำต่อด้วยนะ
เป็นยังไงบ้างครับสำหรับ 5 ทริค พิชิตวิชาท่องจำที่ ChulaGradeupTutor นำมาฝากน้อง ๆซึ่งทุกคนสามารถนำไปลองทำตามดูนะ ได้ผล หรือ ไม่ได้ผลก็ต้องขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ และความตั้งใจของผู้ปฏิบัติตามด้วยนะ
FB Fanpage : @ChulaGradeup