หลังจากที่น้อง ๆ ได้ดำเนินการสอบ O-NET เป็นที่เรียบร้อย...
ป้ายกำกับ: ONET
O-NET (Ordinary National Educational Test) คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วัตถุประสงค์ของการสอบ
- เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
- เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
- เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
วิชาสอบของนักเรียน ป.6 , ม.3
- คณิตศาสตร์
- ภาษาไทย
- วิทยาศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ
วิชาสอบของนักเรียน ม.6
- สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- คณิตศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาไทย
- วิทยาศาสตร์
O-NETม.6 นั้นมีสำคัญอย่างไร?
- การสอบจัดสอบโดย สทศ. และสามารถสอบได้เพียงครั้งเดียว
- ถ้าขาดสอบ หรือไม่ได้เข้าสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการสมัครแอดมิชชั่น
- บางคณะ/สาขาวิชาของมหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนสอบ วิชาภาษาอังกฤษ เป็นเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย
O-NETเกี่ยวกับข้องกับสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร?
คะแนนสอบ O-NET ถือว่าเป็นสิ่งที่สำหรับการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะเป็นคะแนนที่บ่งบอกถึงความรู้ทางวิชาการขั้นพื้นฐาน ที่ทางมหาวิทยาลัยจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเข้าเรียนต่อ ดังนั้นเราจึงต้องเข้าสอบ และนำหลักฐานผลคะแนนมายื่นในการสมัครเข้าเรียนต่อด้วย โดยคะแนนสามารถที่จะใช้ยื่นรับตรงและแอดมมิชชั่นได้ ดังนี้
1. รับตรง กสพท
สำหรับการสมัครรับตรงในกลุ่ม กสพท จะไม่ได้นำคะแนนสอบมารวมในน้ำหนักของคะแนน แต่มีเงื่อนไขว่านักเรียนที่สมัครสอบ กสพท จะต้องมีคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 (ใน 5 กลุ่มสาระวิชา)
2. รอบแอดมิชชั่น
ในรอบแอดมิชชั่น สำหรับนักเรียนทั่วไป (รอบที่ 4 ในระบบ TCAS) จะใช้คะแนนเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก โดยจะมีค่าน้ำหนักคะแนนร้อยละ 30 และในบางคณะ/สาขาวิชาจะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำของเอาไว้ด้วย
3. รับตรงในบางโครงการ
สำหรับบางคณะ/สาขาวิชาในบางมหาวิทยาลัยจะมีการเปิดรับสมัครตรงเอง โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เอง โดยนอกจากจะมีการสอบ เกรดเฉลี่ยสะสมแล้ว บางโครงการยังมีการกำหนดให้ต้องใช้คะแนนสอบด้วย
เทคนิคการอ่านหนังสือ เตรียมสอบ
ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการสอบ 9 วิชาสามัญ เพื่อ เตรียมสอบ เ...